24-06-2019

11 เรื่องน่ารู้ของ “Libra” เงินคริปโตจาก Facebook

บทความโดย

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา facebook ได้ประกาศโครงการจัดทำสกุลเงินครปโต(Cryptocurrency) ของตัวเอง ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1. The Calibra wallet กระเป๋าเงินเพื่อใช้เงินสกุล Libra Coin ที่จะมีการนำเข้าสู่ระบบของแอปฯของ facebook อย่าง WhatsApp, Instagram และ Messenger ในปี 2020 เพื่อเป็นวิธีการใช้จ่ายแก่ผู้คนกว่า 1,700 ล้านคนทั่วโลกที่ไม่มีบัญชีธนาคาร 2. Libra สกุลเงินคริปโต ที่มีการเริ่มต้นจากความร่วมมือของบริษัทชั่นนำของโลก

โดย Libra นั้นได้ปล่อย source code ช่วงเริ่มต้นออกมาแล้ว และคาดว่าจะสามารถใช้งานได้จริงในปี 2020 และนี่คือ 11 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสกุลเงิน Libra

  1. คุณจะต้องอึ้งเมื่อรู้ว่าบริษัทใดบ้างร่วมกันทำเงินคริปโตสกุลนี้

ถ้า facebook คือบริษัทเดียวที่สร้างเงินคริปโตสกุล Libra ก็น่าจะเป็นข่าวใหญ่อยู่แล้ว แต่ว่าเงินสกุล Libra นี้กลับมีบริษัทระดับ Big Name มากมายเข้าร่วม เช่น PayPal, Visa, Mastercard, Stripe, Spotify, eBay, Coinbase, Vodafone และ Union Square แน่นอนว่าการที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่เรานี้มาร่วมด้วยย่อมทำให้โปรเจ็คนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ การที่ Spotify eBay เข้ามาร่วมย่อมเป็นการเปิดพื้นที่การใช้จ่ายของสกุลเงินนี้อย่างมหาศาล เช่นเดียวกับ WhatsApp และ Instagram ที่เป็นช่องทางที่ง่ายในการใช้จ่ายในปัจจุบันอยู่แล้ว

photo by 11fs.com
  1. ไม่มีธนาคารเข้ามาร่วมก่อนตั้งแม้แต่แห่งเดียว

แม้ว่า Paypal จะมีการจดทะเบียนเป็นธนาคารในลักเซมเบิร์ก แต่โดยพื้นฐานของบริษัทก็ไม่ใช่ธนาคาร เมื่อดูชื่อบริษัทที่เข้าร่วมก่อนตั้งเงินสกุล Libra จะเห็นว่าไม่มีธนาคารไหนเข้ามาร่วมก่อตั้งแม้แต่แห่งเดียว

  1. นี่คือสกุลเงินที่มีความ “มั่นคง”

แน่นอนว่าเงินสกุลคริปโตนั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนทั่วไปจำนวนมากถึงความผันผวน และไม่มั่นคง นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เงินคริปโตต่างๆนั้นไม่ถูกใช้โดยคนส่วนมากในปัจจุบัน แต่ Libra นั้นแตกต่างออกไป มูลค่าของค่าเงิน Libra นั้นมีการผูกเข้ากับทรัพย์สินที่จับต้องได้ แบบสกุลเงินที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น US Dollar, Pound Sterling หรือ Euro ทำให้โดยทฤษฏีด้านการเงิน Libra กลายเป็นสกุลเงินที่มีความมั่นคงไม่แพ้สกุลเงินอื่นๆเลย

photo by myob.com
  1. กลุ่มผู้ก่อตั้งยังคงใช้คำว่า “สกุลเงินคริปโต”

การคงคอนเซ็ปต์ของสกุลเงิน Libra นั้นมีความชัดเจนว่าต้องการเป็นสกุลเงินคริปโต เพื่อที่จะไม่ต้องเกี่ยวข้องกับธนาคารกลางของรัฐบาลต่างๆ

  1. มีความเป็นไปได้ว่า Libra อาจจะถูกควบคุมตามกฎของ FinCEN หรือ Financial Crimes Enforcement Network

แม้ว่าด้วยความเป็นสกุลเงินคริปโต Libra จะเป็นสกุลเงินที่ไม่ถูก FinCEN ควบคุม แต่เป็นไปได้ว่าผู้พัฒนาจะออกแบบและทำให้ Libra เป็นสกุลเงินคริปโตที่ปฏิบัติตามกฎ และข้อกำหนดของ FinCEN

  1. Facebook ไม่ใช่เจ้าของ Libra

แม้ว่า facebook จะเป็นแกนนำในการก่อตั้ง Libra แต่ facebook เองก็มีสถานะเป็นเพียงสมาชิกที่เท่าเทียมกันของบรรดาผู้ร่วมก่อตั้ง Libra เช่น Visa และ Mastercard และเพื่อป้องกันความวิตกของผู้ใช้บริการว่า facebook จะใช้สกุลเงินนี้ในการเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการ Libra จึงมีการจดทะเบียนเป็น open source (Apache 2.0 licence) ซึ่งอนุญาตให้ผู้พัฒนาเข้าไปอ่าน พัฒนา หรือส่ง feedback ได้ อีกทั้ง Libra ยังจดทะเบียนเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในเจนีวาอีกด้วย

  1. Facebook กำลังแข่งขันกับ WeChat และ Apple Pay

การใช้จ่ายผ่าน application มือถือในปัจจุบันถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่มากสำหรับ WeChat เช่นเดียวกับ Apple Pay ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 100 ล้านคน นอกจากจะเป็นตลาดที่ใหญ่แล้วยังเป็นพื้นที่ที่พิสูจน์ความล้ำหน้าด้านเทคโนโลยีของบริษัทชั้นนำเหล่านี้อีกด้วย แม้ว่า facebook จะเป็นบริษัทที่มีการเจริญเติบโตสูงมาก แต่ขีดความสามารถในการแข่งขันเรื่องการใช้จ่ายผ่าน application ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก Libra จะเข้ามาเป็นตัวสร้างความเปลี่ยนแปลงในการใช้จ่ายผ่าน WhatsApp และ Instagram ที่จะทำให้บริษัทมีพื้นที่ในการแข่งขันและศักยภาพด้านนี้มากขึ้น

  1. จนถึงปัจจุบัน facebook ยังไม่ได้เป็นมิตรกับรัฐบาลประเทศใด

ที่ผ่านมา facebook นั้นถูกรัฐบาลประเทศต่างๆโจมตีว่าปล่อยให้มีการปล่อยข่าวปลอม ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลและหน่วยงานรัฐของประเทศต่างๆให้ความสำคัญค่อนข้างมาก เช่นเดียวกับที่ Mark Zuckerberg ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญในการถูกเชิญโดยรัฐบาลประเทศต่างๆ เพื่อหาหรือในเรื่องดังกล่าวเท่าใดนัก นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่มีการตั้งสกุลเงิน Libra ขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับสกุลเงินหลักที่ถูกสนับสนุนโดยธนาคารกลางของประเทศต่างๆด้วยหรือไม่

  1. สกุลเงินนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อระบบการใช้จ่าย และธนาคารต่างๆ

Facebook มีการสร้างระบบจำลองการจ่ายเงินของตัวเองมานับสิบปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถนำมาทดแทนการใช้จ่ายผ่านสกุลเงินหลักได้จริงเสียที แต่การที่มีสกุลเงินแบบ Libra ที่มีความมั่นคง อาจจะเปลี่ยนแปลงจุดนี้ได้ David Marcus อดีต CEO ของ PayPal ซึ่งทำงานเรื่อง Libra ให้ facebook ระบุว่า โลกอินเตอร์เน็ต ต้องการสกุลเงินของตัวเอง

แน่นอนว่าเมื่อบริษัทใหญ่อย่าง facebook หรือ application ที่มีผู้ใช้จำนวนมากอย่าง WeChat ใช้ระบบการชำระเงินและสกุลเงินของตัวเอง ความสำคัญของธนาคาร และระบบการจ่ายเงินแบบเดิมๆก็จะมีความสำคัญน้อยลง อีกทั้งยังเป็นการเข้าถึงผู้คนอีกหลายร้อยล้านคนทั่วโลกที่ไม่มี และไม่ใช่บัญชีธนาคารปกติอีกด้วย

photo by thenews.com
  1. สกุลเงิน Libra ทำงานอย่างไร?

การใช้จ่ายทั้งหมดจะเป็นไปแบบไม่เปิดเผยผู้ใช้จ่าย หรือพูดง่ายๆ เราสามารถเห็นได้ว่ามีการใช้จ่ายอะไร แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้ใช้จ่าย ซึ่งผู้ใช้ Wallet ทุกคนจะมีระบบ KYC ที่จะยืนยันตัวตน ในส่วนของค่าเงินนั้น Libra ไม่ได้ยึดโยงกับสกุลเงินหลัก และไม่ได้มีมูลค่าถาวร มูลค่าของ Libra จึงขึ้นลงได้เหมือนสกุลเงินอื่นๆ

นอกจากนี้ Libra ยังมีระบบ Security Tokens ที่เอาไว้สำหรับการลงทุกอีกด้วย แต่ผู้ที่จะซื้อได้ต้องเป็นนักลงทุนที่มีศักยภาพเท่านั้น เช่น บริษัท นักลงทุนที่มีทุนมหาศาล แต่ถ้าคุณอยากได้รับสิทธิในการซื้อ Tokens ก็สามารถทำได้ ด้วยการบริจาคเงินเข้ากองทุน Libra จำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ราว 300 ล้านบาท

  1. นี่เป็นระบบ blockchain แบบปิด แต่มีจุดประสงค์เพื่อเปิด

จากที่พูดมาทั้งหมด Libra น่าจะกลายเป็นคู่แข่งของ Bitcoin แต่น่าจะมีแรงสนับสนุนจากบริษัทชั้นนำมากกว่า คำถามที่น่าสนใจก็คือ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จะปล่อยให้ Libra นั้นมีมูลค่าและแรงสั่นสะเทือนทางการเงินมากแค่ไหน จะเป็นเหมือน Bitcoin หรือเปล่า

ซึ่งการที่มันมีความคล้ายกับ Bitcoin ก็ทำให้หลายคนสงสัยว่าทำไม facebook ไม่ใช้ Bitcoin ไปเลย ก็อาจจะมีคำตอบว่า Bitcoin นั้นช้า มีความผันผวนสูงมาก ไม่มั่นคง แถมราคายังแพงเกินไปอีกด้วย การที่ facebook เลือกทำ Libra ก็อาจจะทำให้มันรวดเร็ว เป็นที่ยอมรับ และสนับสนุนมากกว่านั่นเอง

 

ที่มา

11fs.com