13-08-2019

ดร.วิรไท สันติประภพ เน้นย้ำเรื่องการสร้างความยั่งยืนของสถาบันการเงินเชื่อมความเสี่ยงกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคมมากขึ้น

บทความโดย
ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดงานสัมมนาประจำปี Bangkok Sustainable Banking Forum 2019 โดยดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องความยั่งยืนของสถาบันการเงินในประเทศไว้อย่างน่าสนใจ

“Sustainability มีความสำคัญมากขึ้นในการทำธุรกิจทุกประเภท รวมทั้งภาคสถาบันการเงิน ภาคธนาคารเพื่อความยั่งยืนมีผลกระทบมากต่อสังคมในภาคใหญ่และภาคการเงิน

การทำธุรกิจที่คำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและเรื่องชุมชน เรื่องสังคม คนจะนึกถึงว่าเป็นการทำเพื่อการกุศลแต่จริงๆแล้วการไม่ให้ความสำคัญในเรื่องเหล่านี้สุดท้ายจะย้อนกลับมาเป็นความเสี่ยงสำคัญของสถาบันการเงิน และจะมีส่วนสำคัญทำให้สังคมเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆด้วย

มีตัวอย่างจำนวนมากที่ผ่านมาที่สถาบันการเงินที่ไม่ให้ความสนใจอย่างเพียงพอในเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องชุมชน มันส่งผลสะท้อนมาเป็นความเสี่ยงของสถาบันการเงินเพราะว่าสถาบันการเงินที่สำคัญที่สุดคือ ความไว้วางใจของสังคม ความไว้วางใจของประชาชน การที่สถาบันการเงินไม่สามารถปฏิบัติได้ตามความคาดหวังของสังคมจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆของสังคม มันจะย้อนกลับมาเป็นความเสี่ยงอาทิ ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ (Credit Risk) และเป็นความเสี่ยงในความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินอีกด้วย

สถาบันการเงินจะมีบทบาทที่สำคัญมากในเรื่องการยกระดับคุณภาพของสังคมและไม่ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจไปส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะสถาบันการเงินเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรที่สำคัญ นั่นคือทรัพยากรทุน

เราคาดหวังว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสถาบันการเงินให้ประชาชนสัมผัสได้ เพาะสถาบันการเงินเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรเงินฝากของประเทศ ถ้าสถาบันการเงินรับผิดรับชอบต่อสังคมและประชาชนมากขึ้นก็จะมีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพสังคมมากขึ้น

เราเห็นพัฒนาการหลากหลายมิติของสถาบันการเงินในเรื่อง สิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม ตั้งแต่ปีที่แล้วที่จัดงานได้เริ่มทำงานที่เป็นรูปธรรมร่วมกัน คือเรื่อง Basic Banking Account หรือบัญชีเงินฝากพื้นฐาน ซึ่งเป็นบัญชีที่ให้ประชาชนที่มีฐานะยากจน ผู้สูงอายุ โดยไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น วัตถุประสงค์เพื่อให้การเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ช่วงปีหนึ่งที่ผ่านมาหลายสถาบันการเงินได้ให้ความสนใจส่งเสริมเรื่องนี้อย่างจริงจังโดยเฉพาะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่มีบัญชีเงินฝากขั้นพื้นฐานมากกว่า 1 ล้านบัญชีในรอบ1 ปีที่ผ่านมา หลายสถาบันการเงินได้ตั้งหน่วยงานที่เป็นเฉพาะในการส่งเสริมในเรื่องlevel Sustainability เน้นเรื่องธนาคารแห่งความยั่งยืนอย่างจริงจัง

วันนี้มีการลงนามในเรืมแนวปฏิบัติใหม่ ในเรื่องการปล่อยสินเชื่อที่รับผิดชอบต่อสังคม ที่เป็นแนวปฏิบัติของสมาคมธนาคารไทยและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จะมาร่วมกำหนดนโยบายของแต่ละสถาบันการเงินนำไปสู่การเปลี่ยนวิธีการทำงานของสถาบันการเงิน การเปิดเผยข้อมูล การตรวจสอบต่างๆเพื่อให้สถาบันการเงินมีบทบาทที่สอดคล้องกับเรื่องความยั่งยืน

หลายสถาบันการเงินได้เข้าร่วม Dow Jones Sustainability Index (ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์) มีการประเมินการปฏิบัติในเรื่องความยั่งยืน เป็นที่น่ายินดีที่สถาบันการเงินไทยเมื่อเทียบกับในอาเซียนเรามีมากที่สุด ที่ได้รับการรับรองในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ที่ต้องทำต่อเนื่อง

เรื่องการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต้องมองกว้างและมองไกลถึงผลกระทบต่างๆที่จะย้อนกลับมาที่สถาบันการเงินด้วย บางครั้งเราอาจมองแค่ว่าการปล่อยสินเชื่อแล้วลูกหนี้ทำตามกฎหมายหรือไม่อาจไม่เพียงพอเพราะกฎหมายอาจจะตามไม่ทันปัญหา และความคาดหวังของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายโครงการที่ได้รับสินเชื่อแล้วสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน จะกลายมาเป็นหนี้เสียและกลายเป็นความเสี่ยงของสถาบันการเงินได้ที่สถาบันเองต้องให้ความสำคัญในการลดความเสี่ยงในประเด็นนี้เหล่านี้ให้ลดลง”