19-10-2018

“ตะกร้าการบริโภค: คำตอบของภาพลวงเงินเฟ้อ”

บทความโดย

“การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบต่อครัวเรือนไทยอย่างไร?” เป็นคำถามสำคัญในยามที่ระบบเศรษฐกิจกำลังเผชิญกับการเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า การมองหาค าตอบจากตัวเลขเงินเฟ้อรวม (Headline Inflation) ไม่สามารถเห็นภาพที่ชัดเจนได้เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงของราคารายสินค้ามีพลวัตที่แตกต่างกัน Research Intelligence ฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า ครัวเรือนไทยในแต่ละกลุ่มรายได้มีตะกร้าการบริโภคสินค้าไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่แตกต่างกันไปด้วย ที่ส าคัญ ราคาสินค้าในหมวดที่ถูกบริโภคโดยครัวเรือนรายได้น้อยมักจะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วและมีความเฉื่อย ลักษณะดังกล่าวจึงมีนัยยะต่อการด าเนินนโยบายการเงินที่ต้องมองไปข้างหน้า ทั้งนี้เพื่อลดทอนผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากความแตกต่างของแบบแผนการบริโภคและยังช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว


ครัวเรือนในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมักเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าโดยเปรียบเทียบ

ทางด้านวิจัยกรุงศรีได้ทำการจำแนกผู้บริโภคออกเป็น 5 กลุ่มตามค่าใช้จ่ายของครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสินค้าหมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงที่สุด ซึ่งสินค้าในหมวดนี้ราคามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับสินค้าหมวดอื่นๆ ในช่วงปี2003-2018 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในหมวดอาหารสดและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และหมวดอาหารสำเร็จรูปอยู่ที่ร้อยละ 5.5 และ 2.7 ตามลำดับ โดยกลุ่มผู้มีรายได้น้อยบริโภคสินค้าสองหมวดดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด (เทียบกับสัดส่วนเพียงร้อยละ 28 ของกลุ่มผู้มีรายได้สูง) ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ซึ่งเป็นหมวดที่กลุ่มผู้มีรายได้สูงใช้จ่ายเป็นสัดส่วนมากที่สุด อยู่ที่เพียงร้อยละ 1.9 เท่านั้น (ภาพที่ 1) ดังนั้น ครัวเรือนในกลุ่ม
ผู้มีรายได้น้อยจึงเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าโดยเปรียบเทียบ ส่งผลให้ภาระค่าครองชีพของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเพิ่มขึ้นเร็วกว่ากลุ่มผู้มีรายได้สูงอย่างชัดเจน (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 1 : สัดส่วนค่าใช้จ่ายจาแนกตามกลุ่มรายได้และอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยระหว่างปี 2003 -2018

 

ภาพที่ 2 อัตราเงินเฟ้อจาแนกตามกลุ่มรายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยในช่วงปี 2004-2018 (%YoY)

ในช่วงเงินเฟ้อขาขึ้น เงินเฟ้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจะปรับขึ้นเร็วและคงทน

นอกจากจะเผชิญอัตราเงินเฟ้อไม่เท่ากันแล้ว ครัวเรือนแต่ละกลุ่มยังเผชิญพลวัตเงินเฟ้อที่แตกต่างกันตามลักษณะของเงินเฟ้อแต่ละหมวดสินค้า ทศพล อภัยทาน และคณะ (2018) ศึกษาความหนืดของราคา (Price stickiness) พบว่า ความถี่ในการปรับราคาสินค้าของไทยในช่วงขาขึ้นและขาลงไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ความถี่ในการปรับราคาระหว่างหมวดสินค้ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ โดยหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร มีความถี่ในการปรับราคาสูงที่สุด (มีความหนืดน้อย) รองลงมา ได้แก่ หมวดอาหารสดและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (ภาพที่ 3) นอกจากนี้ วิจัยกรุงศรีวิเคราะห์ความเฉื่อยของอัตราเงินเฟ้อ (Inflation persistence) แต่ละหมวดสินค้า พบว่า (1) สินค้าส่วนใหญ่มีความเฉื่อยของอัตราเงินเฟ้อในช่วงขาขึ้นมากกว่าในช่วงขาลงอย่างมีนัยสาคัญ และ (2) อัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์มีความเฉื่อยมากกว่าสินค้าหมวดอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงขาขึ้น ดังนั้น ในช่วงเงินเฟ้อขาขึ้น อัตราเงินเฟ้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจะปรับขึ้นอย่างรวดเร็วและมักจะคงทนตามลักษณะเงินเฟ้อในหมวดอาหารและเครื่องดื่มซึ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีสัดส่วนการบริโภคสูง (ภาพที่ 4)

ภาพที่ 3: ความถี่ของราคาและความเฉื่อยของอัตราเงินเฟ้อรายหมวดสินค้า
ภาพที่ 4: ความเฉื่อยเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อจาแนกตามกลุ่มรายได้

นโยบายการเงินมีประสิทธิภาพในการชะลอเงินเฟ้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยต่ากว่าโดยเปรียบเทียบ

วิจัยกรุงศรีวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดาเนินนโยบายการเงินด้านอัตราดอกเบี้ยต่ออัตราเงินเฟ้อในแต่ละกลุ่มครัวเรือน โดยใช้แบบจาลอง Structural Vector Autoregression (SVAR) เพื่อวิเคราะห์ปฏิกิริยาตอบสนอง (Impulse response) ของอัตราเงินเฟ้อต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยพิจารณา 2 มิติ ได้แก่ ระยะเวลาการส่งผ่านของนโยบายการเงิน และขนาดของการตอบสนอง พบว่า (1) ระยะเวลาการส่งผ่านของนโยบายการเงินในครัวเรือนแต่ละกลุ่มไม่ต่างกัน โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อทุกกลุ่มตั้งแต่เดือนที่ 2 โดยจะส่งผลกระทบสูงสุดในเดือน 3 และผลดังกล่าวจะทยอยลดลงและหมดไปในเดือนที่ 10 (2) อัตราเงินเฟ้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยตอบสนองต่อนโยบายการเงินในขนาดที่น้อยกว่า (ภาพที่ 5) เนื่องจากเงินเฟ้อของคนกลุ่มนี้มีความเฉื่อยมากกว่าโดยเปรียบเทียบ จากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านต้นทุน (Cost-push inflationary pressure) มีน้าหนักในการอธิบายสูง ทาให้นโยบายการเงินมีประสิทธิภาพในการชะลอเงินเฟ้อในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยต่ากว่าโดยเปรียบเทียบ

ภาพที่ 5: ผลกระทบสะสมของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่ออัตราเงินเฟ้อในแต่ละกลุ่มครัวเรือน

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือป้องกันการเร่งตัวของเงินเฟ้อในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในอนาคต

ในช่วงที่ผ่านมา รายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรขยายตัวตามการจ้างงานที่ปรับดีขึ้นในเกือบทุกสาขาการผลิตหลัก อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานในกระบวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทาให้ค่าจ้างปรับขึ้นไม่มากนัก ขณะที่รายได้ครัวเรือนภาคเกษตรขยายตัวตามปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นรวมถึงได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ แต่เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับต่าเมื่อเทียบกับในอดีต รายได้ครัวเรือนภาคเกษตรจึงปรับขึ้นได้ไม่มากเช่นกัน ทาให้รายได้ครัวเรือนขยายตัวในระดับต่า (ภาพที่ 6)

เงินเฟ้อในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารปรับเพิ่มขึ้นมากในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2018 ทาให้รายได้ที่แท้จริงของครัวเรือนในกลุ่มผู้มีรายได้สูงได้รับผลกระทบมาก ขณะที่เงินเฟ้อในหมวดอาหารยังคงอยู่ในระดับต่า รายได้ที่แท้จริงของครัวเรือนในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจึงได้รับผลกระทบจากัด (ภาพที่ 6) อย่างไรก็ตาม หากเงินเฟ้อในหมวดอาหารเร่งตัวขึ้น จะทาให้รายได้ที่แท้จริงของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยได้รับผลกระทบมากและยาวนาน (ภาพที่ 7)

ปัจจุบันแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการปรับเพิ่มของราคาน้ามัน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้ากลุ่มอื่นๆ เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์มีแนวโน้มชัดเจนขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวเกินกว่าระดับศักยภาพและกระจายตัวทั่วถึงมากขึ้น นอกจากนี้ การขยายตัวต่อเนื่องของอุปสงค์ทาให้ผู้ประกอบการสามารถส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าได้ง่ายขึ้น วิจัยกรุงศรีคาดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2019 จะเร่งขึ้นสู่ร้อยละ 1.5 จาก
ร้อยละ 1.1 ในปี 2018

ภาพที่ 6: การขยายตัวของรายได้ครัวเรือนจาแนกตามกลุ่มรายได้(% YoY)

 

ภาพที่ 7 : อัตราเงินเฟ้อ (% YoY)

วิจัยกรุงศรีมีมุมมองว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเวลานี้จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยป้องกันการเร่งตัวของเงินเฟ้อในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในอนาคต (Pre-emptive measures) เนื่องจากหากอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดอาหาร จะทาให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยต้องเผชิญกับเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นเร็วและคงทนกว่าโดยเปรียบเทียบ ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมองไปข้างหน้า โดยเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ภาวะปกติ (Monetary policy normalization) (ภาพที่ 8) เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะยาว และ
ลดทอนผลของความแตกต่างของอัตราเงินเฟ้อที่มีต่อครัวเรือนไทยทั้งนี้ วิจัยกรุงศรีคาดธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง ครั้งละร้อยละ 0.25 รวมเป็นร้อยละ 0.50 สู่ระดับร้อยละ 2.00 โดยเริ่มปรับขึ้นครั้งแรกในไตรมาส 4/2018 ซึ่งเป็นจังหวะเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นไตรมาสที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวสูงที่สุด
ของวัฎจักรขาขึ้นรอบนี้ และจะปรับขึ้นอีกครั้งในไตรมาส 1/2019 เพื่อให้มั่นใจว่าการดาเนินนโยบายการเงินจะมีประสิทธิผลเพียงพอในการชะลออัตราเงินเฟ้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยซึ่งตอบสนองต่อนโยบายการเงินในขนาดที่น้อยกว่า

ภาพที่ 8: อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

Source: วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

Facebook
Twitter
Line