01-10-2019

ไม่แข่ง ยิ่งแพ้ : อำนาจตลาดกับการยกระดับศักยภาพของธุรกิจ

บทความโดย

งานสัมมนาธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2562 หรืองาน BOT Symposium 2019 โดยปีนี้ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง “การแข่งขัน” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยอำนาจเหนือตลาดมีผลต่อผลิตภาพของตลาด ภายใต้หัวข้อ “ไม่แข่ง ยิ่งแพ้ : อำนาจตลาดกับการยกระดับศักยภาพของธุรกิจ” โดยผู้นำเสนอคือ ดร.อาชว์ ปวีณวัฒน์ และ รศ.ดร.กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย่

โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในงานวิจัยนี้มาจากฐานข้อมูล 3 ฐานด้วยกันคือ ข้อมูลงบการเงินรายบริษัท ข้อมูลผู้ถือหุ้น ระดับบริษัท- ผู้ถือหุ้น และ ข้อมูลการส่งออก รายใบขน โดยจำนวนบริษัทจำนวนกว่า 750,000 รายจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ข้อมูลที่น่าสนใจพบว่า การผลิตของภาคธุรกิจไทยมีอัตราการกระจุกตัวสูง บริษัทที่ใหญ่ที่สุด 5% แรกของประเทศ มีสัดส่วนรายรับ 85% ของรายรับทั้งหมด ในการกระจุกตัวในลักษณะนี้เกิดขึ้นมากว่า 10 ปีแล้วตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา และเมื่อมาดูระดับการกระจุกตัวในระดับอุตสาหกรรม โดยใช้ดัชนี HHI ยิ่งมีค่าดัชนีที่สูงมากเท่าไหร่ ยิ่งมีการกระจุกตัวสูงมากขึ้นเช่นกัน

นอกจากนี้พบว่า อัตราการเกิดและอัตราการตายของธุรกิจไทยลดลงมาตลอดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้อายุโดยเฉลี่ยของบริษัทไทยมีอายุที่ยาวนาขึ้น เพราะการแข่งขันจะเป็นตัวบีบให้บริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันและผลิตภาพต่ำต้องออกจากตลาดไป ทำให้แนวโน้มภาคธุรกิจไทยเกิดลักษณะที่ ธุรกิจไทยมีลักษณะการกระจุกตัวที่สูงขึ้น มีพลวัตรที่ลดลง และอายุของธุรกิจที่ยาวนานขึ้น

การถือหุ้นของภาคธุรกิจไทย

การถือหุ้นของภาคธุรกิจไทยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันผ่านการถือหุ้นในบริษัทย่อย บริษัทลูก และบริษัทในเครือระหว่างกัน จะถือว่าอยู่ในกลุ่มธุรกิจหรือกลุ่มทุนเดียวกัน โดยการถือหุ้นในไทยพบมีหลายลักษณะเช่น การถือหุ้นแบบพีระมิด การถือหุ้นไขว้  (Cross Sharholding)

ภาคธุรกิจไทยมีกลุ่มทุนที่ผ่านการนิยามในการถือหุ้นในกลุ่มเดียวกัน โดยมีการถือหุ้นขั้นต่ำที่ 20% มีประมาณ 6,000 กลุ่มซึ่งมีความหลากหลายของธุรกิจ  โดยขั้นต่ำพบว่ามีการถือหุ้นร่วมกันอย่างน้อย 3 บริษัทโดยประกอบธุรกิจที่แตกต่างกัน

ในการกระจายตัวของอุตสาหกรรมของธุรกิจไทยพบว่ามีความหลากหลายอาทิ กลุ่มทุนที่มีบริษัทในเครือจำนวนมากแต่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน มีทั้งการกระจุกตัวในอุตสาหกรรมสูง มีการกระจุกตัวต่ำ และขนาดของกลุ่มทุนที่มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่

ขนาดการกระจุกตัวของกลุ่มทุนไทย

กลุ่มทุนไทยคิดเป็น 5% ของจำนวนบริษัททั้งหมดในประเทศไทย แต่ปรากฎว่ามียอดขายรวมทั้งหมดเป็น 46% ของยอดขายรวมทั้งหมดของภาคธุรกิจในเมืองไทย นอกจากนั้นส่วนแบ่งของอัตราการทำกำไรมีส่วนแบ่งของกำไรอยู่ที่ 60% ของภาคธุรกิจในเมืองไทย  สะท้อนว่ากลุ่มทุนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญมากต่อระบบเศรษฐกิจไทย และเป็นบริษัทขนาดใหญ่

ขณะที่บริษัทในกลุ่มทุนนั้นใหญ่แค่ไหน พบว่าบริษัทในกลุ่มทุนส่วนใหญ่มักเป็นบริษัทขนาดใหญ่อยู่ในกลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 10% ของประเทศ และบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 10% ของประเทศ กว่าครึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มทุน

จากรูปแสดงให้เห็นว่าการกระจุกตัวสูงที่สุดอยู่ในอุตสาหกรรมผลิตสุรา ผลิตเบียร์  ขายส่งเครื่องดื่มและยาสูบ

การส่งออกของกลุ่มทุน

จากข้อมูลการส่งออกพบว่าการส่งออกมีมูลค่า 70% ของ GDP  แต่มีเพียง 6% ของบริษัททั้งหมดในประเทศไทยที่ส่งออกสินค้าออกไปต่างประเทศ ขณะที่สินค้าที่มีความซับซ้อนสูงหรือบริษัทที่ส่งสินค้าไฮเทคมีเพียง 15% ของการส่งออกทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยส่งออกสินค้าที่มีความซับซ้อนต่ำ มูลค่าต่ำ

สรุป ภาคธุรกิจไทยมีการกระจุกตัวสูง

การกระจุกตัวที่เกิดขึ้นดีหรือไม่ดีต่อเศรษฐกิจไทย จากการศึกษาทำการศึกษาการวัดอำนาจตลาด โดยมีการนิยามอำนาจตลาด คือ  ความสามารถของบริษัทในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการตนเอง โดยตัววัดที่เรียกว่า Markup นั้นวัดที่สัดส่วนระหว่างราคาขายและต้นทุนการผลิตหน่วยสุดท้าย

พบว่าบริษัทที่มีอำนาจตลาดสูงอยู่ในอุตสาหกรรมหลัก 5 ประเภท โดยวัดที่ 5% แรกนั่นคือ  ค้าปลีก (12.54%)  ค้าส่ง (11.27%) ร้านอาหาร (10.94%) โรงแรม (7.34%) ผลิตอาหาร ( 5.93%)

แนวโน้มอำนาจตลาดในประเทศไทยพบว่าในช่วงก่อนปี 2554 ค่า Markup ค่อนข้างคงที่ แต่หลังจากปี2554 มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทในกลุ่ม High Markup เพิ่มขึ้นมากกว่าอำนาจตลาดของ Median Firm กว่าเท่าตัว และยังพบว่าบริษัทที่มีอายุมากมีอำนาจตลาดสูงกว่าบริษัทที่อายุน้อย

บริษัทในกลุ่มทุนขนาดใหญ่มีแนวโน้มอำนาจตลาดสูงกว่าบริษัทในกลุ่มทุนขนาดเล็ก ขณะเดียวกันบริษัทในกลุ่มทุนที่มีการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมสูงมีอำนาจตลาดสูงกว่าทั้งในเรื่องของจำนวนบริษัท รายรับรวม และจำนวนอุตสาหกรรม

ขณะที่คำถามที่สำคัญว่าอำนาจตลาดมีผลต่อเศรษฐกิจไทย การศึกษาชี้ว่า อำนาจตลาดมีผลต่อผลิตภาพหมายความว่า อำนาจตลาดเป็นตัวสร้างแรงจุงใจให้บริษัทมีการพัฒนาตนเองให้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีถ้าบริษัทที่มีอำนาจตลาดมากจะขาดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองเพราะไม่ต้องเผชิญแรงกดดันจากการแข่งขัน  มีอัตราการเติบโตของผลิตภาพต่ำกว่าบริษัทที่มีอำนาจตลาดน้อย

ยังพบว่าบริษัทที่มีอำนาจตลาดสูงจะส่งออกสินค้าน้อยกว่าบริษัทที่อำนาจตลาดต่ำ เพราะว่า บริษัทที่มีอำนาจตลาดสูงสามารถอยู่ได้ในตลาดต่างประเทศทำให้ขาดแรงจูงใจในการพัฒนาสินค้าส่งออก และเป็นไปได้คีอขาดความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ และเป็นไปได้ว่าบริษัทที่มีอำนาจตลาดสูงการส่งออกสินค้าโอกาสที่สินค้าที่ส่งออกจะอยู่รอดมีต่ำกว่าบริษัทที่มีอำนาจตลาดต่ำกว่า และยังส่งผลต่อการขยายตลาดใหม่ๆ จำนวนประเทศปลายทาง จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกน้อยกว่า และส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ต่ำกว่าบริษัทที่มีอำนาจตลาดต่ำกว่า  และแน่นอนว่าการลงทุนที่ต่ำอีกด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจตัวรายงานสามารถเข้าไปดูได้ที่ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์