18-12-2018

ดีเอชแอลกับนวัตกรรมการขนส่งใหม่ในภาคธุรกิจยานยนต์

บทความโดย

ช่วงนี้เราจะเห็นธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ถูกเปลี่ยนโฉมหรือทรานส์ฟอร์มโดยเทคโนโลยี (Digital Disruption) ที่ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous driving) รถพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicles) และรถ connected car ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนท้องถนนมากขึ้น และเมื่ออุตสาหกรรมหนึ่งมีการทรานส์ฟอร์มย่อมจะส่งผลให้มีการปรับปรุงกระบวนการด้านซัพพลายเชนและลอจิสติกส์ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นกระบวนการสำคัญในการนำนวัตกรรมยานยนต์มาสู่ผู้บริโภค

ดีเอชแอลกับนวัตกรรมการขนส่งใหม่ในภาคธุรกิจยานยนต์

ในยุค Automobility ที่ต้องการการขนส่งที่รวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดเรื่องระยะทางพร้อมการประหยัดต้นทุน คือปัจจัยที่ธุรกิจลอจิสติกส์ควรให้ความสำคัญพอๆกับการให้ความสำคัญกับสินค้า ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า และคาดว่าจะมีการยุติการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันในปี 2035 เพื่อมุ่งสู่การสร้างการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม[1] รถยนต์ในอนาคตจะมีความซับซ้อนขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกติดตั้งเพื่อควบคุมสมรรถนะเครื่องยนต์ มีกลไกการตัดสินใจด้วยความสามารถของ AI การเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตบนระบบ 5Gและระบบคลาวด์เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการออนไลน์ขณะเดินทางและแชร์ตำแหน่งรถยนต์ได้ ความเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดผลต่อซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมยานยนต์หลายๆด้าน เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบา มีความเปราะบางมากขึ้นและต้องการการปกป้องเพื่อให้ปลอดภัยจากอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำมาก รวมถึงการคายประจุไฟฟ้าสถิต การกระแทก และการสั่นสะเทือนระหว่างการขนส่ง ผู้ให้บริการขนส่งจึงต้องนำเทคโนโลยีและโซลูชั่นเฉพาะด้านมาใช้ในการจัดการปัญหาเหล่านี้

ดีเอชแอลได้จัดงาน DHL Auto-Mobility Discovery Fair

ดีเอชแอลได้จัดงาน DHL Auto-Mobility Discovery Fair เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อตอกย้ำถึงความสำคัญของนวัตกรรมการขนส่งใหม่ๆในภาคธุรกิจยานยนต์ ที่ช่วยตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่ประกอบด้วยความรวดเร็วในการจัดส่ง การลำเลียง การเรียกคืนสินค้า ความแม่นยำในการจัดเก็บชิ้นส่วนยานยนต์ในคลังสินค้า โดยใช้เทคโนโลยีและโซลูชั่นในการขนส่ง เช่น Ring Scanner อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับยานยนต์ และช่วยปรับปรุงงานประจำในส่วนของการรับและจัดเรียงสินค้า Outbound Real-time dashboard เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการจัดส่งสินค้าสู่โรงงานผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ รองรับการวางแผนและจัดส่งแบบ just-in-time และถูกใช้งานในการกระจายสินค้าสำหรับคลังสินค้าอะไหล่รถยนต์ Vision Picking อุปกรณ์สวมใส่ AR ที่ช่วยแจ้งพนักงานคลังสินค้าให้เรียงและจัดเก็บสินค้าได้อย่างถูกต้อง และ On Demand delivery ที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถควบคุมวันที่ เวลา และสถานที่จัดส่งอย่างยืดหยุ่น แม้กระทั่งระหว่างการจัดส่ง

ดีเอชแอลได้จัดงาน DHL Auto-Mobility Discovery Fair

การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี AI หรือ IoT ที่ช่วยปรับปรุงการตรวจสอบซัพพลายเชนด้วยอุปกรณ์ตรวจสอบติดตามราคาประหยัดที่ทำงานได้อย่างแม่นยำ สามารถตรวจสอบและรายงานตำแหน่งที่ตั้งของสินค้าที่จัดส่งได้ หรือการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนที่คาดว่าจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในระบบซัพพลายเชนให้มีความโปร่งใส ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกของการขนส่งรถยนต์ การปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization) กำลังมีบทบาทสำคัญในการช่วยยกระดับประสิทธิภาพ และนำเสนอแนวทางธุรกิจใหม่ๆในโลกของการขนส่งรถยนต์ อย่างไรก็ตามเราจะสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพหากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนการขนส่งรถยนต์ร่วมกันสำรวจรับมือกับความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ

ปัจจุบันดีเอชแอลสร้างดิสทริบิวชั่นเซ็นเตอร์ ร่วมกับการใช้หุ่นยนต์ รถยนต์และรถยนต์ไฟฟ้ากว่าแสนคันสำหรับให้บริการลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ จากการประเมินสัดส่วนจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดว่าการใช้หุ่นยนต์ต่อจำนวนแรงงานตามค่าเฉลี่ยโลกอยู่ที่ 69 ตัวต่อแรงงาน 10,000 คน และหุ่นยนต์อย่างน้อย 3,000 ตัวจะถูกนำมาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์อีก 5 ปีข้างหน้า[2] วงการลอจิสติกส์ในอนาคตจึงเริ่มมองหาบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนเพื่อเสริมสมรรถนะการขนส่งด้านความปลอดภัย ความโปร่งใส และคาดว่าจะช่วยลดต้นทุน และร่นระยะเวลาการทำงาน

ดีเอชแอลสร้างดิสทริบิวชั่นเซ็นเตอร์ ร่วมกับการใช้หุ่นยนต์ รถยนต์และรถยนต์ไฟฟ้า

อย่างไรก็ดี ทักษะของบุคลากรและบุคลากรที่มีความสามารถยังคงเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อคความท้าทายงานด้านลอจิสติกส์ในธุรกิจยานยนต์ ดีเอชแอลยังคงสร้างบุคลากรที่มีองค์ความรู้ด้านลอจิสติกส์และนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์การทำงานในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

[1] บทความ “เติมเต็มศักยภาพธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ไทยด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ” โดย SCBEIC