07-10-2019

แอพพลิเคชั่น SOLIDWORKS จากแดสสอล์ท ซิสเต็มส์ เสริมศักยภาพให้เบรนเวิร์คส สร้างอุปกรณ์แขนกลจับยึดชิ้นงานอย่างเหนือชั้น

บทความโดย

• ผู้นำด้านการผลิตแขนกลอัตโนมัติของไทยสร้างดีไซน์และแบบจำลองที่ก้าวล้ำเพื่อแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
• ตอบโจทย์ความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของลูกค้าภาคยานยนต์และการผลิต ด้วยการสร้างดีไซน์ดิจิทัลง่ายยิ่งขึ้น
• แอพพลิเคชั่นงานวิศวกรรมและการออกแบบ 3 มิติ ‘SOLIDWORKS’ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการนำสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด ปรับปรุงคุณภาพสินค้า และลดต้นทุนการผลิต


แดสสอล์ท ซิสเต็มส์ (Euronext Paris: #13065, DSY.PA) เปิดเผยว่า เบรนเวิร์คส (BRAINWORKS) บริษัทชั้นนำด้านระบบแขนกลอัตโนมัติของคนไทย นำแอพพลิเคชั่น SOLIDWORKS มาสร้างและออกแบบเทคโนโลยีการจับยึดชิ้นงานด้วยมือกล สามารถทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว เที่ยงตรง และแม่นยำที่สุด ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และการผลิต

อุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ และเป็นกลไกหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์แขนกลในภาคอุตสาหกรรม ภายใต้วิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0 และการพัฒนาสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เบรนเวิร์คสให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าในอุตสาหกรรมยานยนต์และการผลิตของไทยตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา โดยนำเสนอระบบจับยึดชิ้นงานคุณภาพสูงที่ปรับแต่งตามความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงหุ่นยนต์สำหรับการทำงานร่วมกับเครื่องจักร อุปกรณ์แขนกลอัจฉริยะ (End of Arm Tooling) และโซลูชั่่น Robotic Cell ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ช่วยให้ลูกค้าปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน

ระบบแขนกลอัจฉริยะ เป็นสิ่งสำคัญของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ คืออุปกรณ์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับชิ้นส่วนและส่วนประกอบต่าง ๆ  นิ้วของแขนกลจำเป็นต้องได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อหยิบจับชิ้นส่วนที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก และวัสดุการผลิตที่แตกต่างหลากหลาย และจะต้องทำงานได้อย่างคล่องแคล่วเที่ยงตรง  นอกจากนั้น ระบบเหล่านี้จะต้องควบคุมแรงที่กระทำต่อวัตถุที่หยิบจับ ต้องควบคุมนิ้วได้อย่างแม่นยำเพื่อให้ทำงานในแต่ละรอบได้อย่างรวดเร็ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการผลิต

นายชัชชัย ผลมูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบรนเวิร์คส จำกัด

นายชัชชัย ผลมูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบรนเวิร์คส จำกัด กล่าวว่า “ลูกค้าของเราต้องการดีไซน์ที่เที่ยงตรงและแม่นยำสำหรับระบบจับยึดชิ้นงานด้วยแขนกล  ความคลาดเคลื่อนแม้เพียงเล็กน้อยที่ระดับไมครอนอาจทำให้ระบบอัตโนมัติทั้งระบบเสียหายได้  นอกจากนี้ ดีไซน์ของแขนกลจะต้องมีความยืดหยุ่นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร  แอพพลิเคชั่น SOLIDWORKS ช่วยให้เราสามารถพัฒนาดีไซน์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย  SOLIDWORKS ทำให้ดีไซน์ของเรามีความแม่นยำมากขึ้น และยังสามารถสร้างแบบจำลองการใช้งานระบบได้ดียิ่งขึ้น จึงสามารถป้องกันปัญหาหรือข้อผิดพลาดระหว่างกระบวนการผลิต  ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เรายังสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตของเราจากการผลิตครั้งละจำนวนมากไปสู่การผลิตจำนวนน้อยได้อีกด้วย”

ผลการศึกษาของ Global Market Insights ระบุว่า ตลาดอุปกรณ์แขนกลสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีมูลค่าเกินกว่า 5.96 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2567  ด้วยการสร้างดีไซน์และแบบจำลองที่ก้าวล้ำสำหรับระบบแขนกลอัตโนมัติโดยอาศัยแอพพลิเคชั่น SOLIDWORKS เบรนเวิร์คสจึงสามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้อย่างเหนือชั้น

ประโยชน์อื่น ๆ ที่ได้รับมีดังนี้:

  • สร้างดีไซน์แบบดิจิทัลสำหรับระบบจับยึดชิ้นงานด้วยมือกลได้อย่างง่ายดาย ตอบโจทย์ความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของลูกค้า
  • ใช้ประโยชน์จากดีไซน์ 3 มิติ เพื่อแสดงดีไซน์และความสามารถของระบบอย่างชัดเจนและง่ายดาย และช่วยให้เบรนเวิร์คสสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สร้างแบบจำลองการใช้ระบบจับยึดชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการวิเคราะห์องค์ประกอบที่จะใช้ในการผลิต
  • ประเมินแรงกดและแรงเค้นได้อย่างเหมาะสมที่สุดสำหรับแขนกลในแต่ละส่วนงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

 

มร ซ็อกส์ คอนโน กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกใต้ ของแดสสอล์ท ซิสเต็มส์ กล่าวว่า “ขณะที่แวดวงเทคโนโลยีมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและยานยนต์จำเป็นที่จะต้องก้าวให้ทันกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง  แดสสอล์ท ซิสเต็มส์นำเสนอแอพพลิเคชั่น SOLIDWORKS ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เพิ่มขีดความสามารถด้านการออกแบบและการสร้างแบบจำลอง  เรายินดีที่ได้ทำร่วมงานกับเบรนเวิร์คส เพื่อเพิ่มขีดการแข่งขันทั้งในด้านความรวดเร็วการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด ควบคู่ไปกับการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและลดต้นทุนการผลิต”